e-Money สังคม เงิน อิเล็กทรอนิกส์ (Less-cash Society)




ณ. ตอนนี้คือปี 2020 หากบทความนี้เขียนขึ้นก่อนหน้านี้สัก 3-4 ปี คงไม่มีใครสนใจจะอ่าน เพราะถ้ามีใครบอกคุณว่า คุณสามารถเปลี่ยน เก็บเงินค่าซักผ้า จากการหยอดเหรียญ มาเป็น โอนเงินเข้าบัญชี เพราะอะไรนะหรือ คำถามจะเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็น ทำได้ด้วยหรือ ค่าใช้จ่ายคุ้มไหม สุดท้ายจะจบด้วยคำว่า เก็บเงินสดนะหละดีแล้ว ได้เงินเห็นๆ จับต้องได้

แต่ลองพิจารณาดีๆ นะครับ มีแต่คนบอกเทคโนโลยี ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ก็ไม่รู้จะทำ ให้เห็นภาพยังไง แต่เคสของการซักผ้า ผ่านระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์ เนี่ยหละชัดเจนสุด สิ่งแรกที่ปรับเปลี่ยนความเข้าใจแบบเดิมๆ คือ อนาคต บทบาทการใช้เงินสด ที่เป็นตัวเงินตรา ที่โบราณเราใช้เป็นสิ่งสมมุติ ให้มีค่า นั้น จะค่อยๆ หายไป จากสังคม และจะเกิดคำว่า สังคมไร้เงินสด (Cashless Social / Less-Cash Society) ในที่สุด



ต่อมา ค่าใช้จ่ายคุ้มหรือไม่? คำตอบคือ ถ้าเป็นอดีตไม่คุ้มค่าแน่นอน เพราะมีค่าใช้จ่าย ด้านเทคนิค และการไม่มีระบบรองรับ ในอดีต แต่ปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาของมันที่กำลังมาแทนที่ ระบบการใช้จ่ายเงินสด แล้วอนาคต ค่าใช้จ่ายแบบที่ทำอยู่ทุกวันนี้คือใช้เงินสด นะหละ ที่จะกลับกลายเป็น ไม่คุ้ม คือ ใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ระบบไร้เงินสด ( Cashless / Less-Cash ) หรือ เงินอิเล็กทรอนิกส์ เพราะคนที่ทำงาน หรือ เกี่ยวข้อง กับตัวเงินจริงๆ จะมีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานคน ในการ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจนับ เดินทาง เสียเวลา และขั้นตอนที่ใช้ กว่าจะเปลี่ยนสถานะเป็นตัวเลขในบัญชี นี่ยังไม่นับรวม ค่าใช้จ่ายฝั่ง ธนาคาร ที่ต้องใช้พนักงาน เครื่องไม้เครื่องมืออีกนะ


แล้วมันจะสะดวกสบายขึ้นยังไง? เหมือนเดิม ถ้าภาพที่เห็นยังเป็นพฤติกรรม แบบอดีต คือพกเงิน พกเหรียญ มาหยอดเครื่องซักผ้า ถามใครๆ ก็จะบอก สะดวกดี แต่พออนาคต บทบาทการใช้เงินจริงๆ ลดลง จน หมดไป ภาพที่เห็นจะมีแต่การใช้มือถือ จ่ายเงิน ไม่มีตัวเงินที่จับต้องได้ ไม่มีสถานะ ไม่มีขนาด ไม่มีน้ำหนัก มีแต่ตัวเลขที่เป็นข้อมูล ดิจิตอล วิ่งจาก ผู้ใช้บริการ โอนไปให้ผู้ให้บริการ  รวดเร็ว ถูกต้อง เศษเหรียญ ก็ไม่มี มีแต่ตัวเลข+ทศนิยม วิ่งผ่านจะกระเป๋าหนึ่งไปกระเป๋าหนึ่งแค่นั้น



ปลอดภัยแค่ไหน เรื่องความปลอดภัย จะบอก 100% ก็พูดไม่ได้เต็มปาก แต่หากจะเทียบกับการใช้เงินสดจริงๆ นับว่า ความปลอดภัย สูงกว่ามาก เพราะระบบหยอดเหรียญ ยังมีเรื่อง ปัญหาการโจรกรรม งัดแงะตู้หยอดเหรียญ แล้วที่บอกว่าไม่ 100% คืออะไร ระบบดิจิตตอล ก็มีความเสี่ยง ยกตัวอย่าง ระบบเน็ต (เฉพาะการใช้ระบบผ่านอินเทอร์เน็ต) มีโอกาส ถูกเจาะระบบได้ มาตรฐาน ที่ใช้กัน เช่น สื่อสารส่งข้อมูลผ่าน https เข้ารหัส SSL ก็ถือว่าปลอดภัยสูงอยู่มาก ไม่ใช่เหล่า Hacker จะแกะ จนสามารถสร้างปัญหาต่อระบบได้ง่ายๆ ช่องโหว่ส่วนมากจะเป็นการเขียนแอปพลิเคชั่นมากกว่า


เพิ่มเติมอีกหน่อย พอดีบทความนี้เขียนช่วงที่ มีการระบาดของไวรัส COVID 19 เป็นช่วงที่ ตัวเงิน ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ หรือ ธันบัตร เป็นสิ่งที่ผู้คนกังวล ว่ามีเชื้อโรคติดอยู่บนพื้นผิว การใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ ก็เริ่มจะมีการพูดถึง ในการช่วยลดโอกาสความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ